PYTHON
Python คือ
ชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง
ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม กล่าวคือสามารถรันภาษา Python ได้ทั้งบนระบบ
Unix, Linux , Windows NT, Windows 2000, Windows XP หรือแม้แต่ระบบ
FreeBSD อีกอย่างหนึ่งภาษาตัว นี้เป็น Open
Source เหมือนอย่าง PHP ทำให้ทุกคนสามารถที่จะนำ
Python มาพัฒนาโปรแกรมของเราได้ฟรีๆโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
และความเป็น Open Source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยกันพัฒนาให้ Python
มีความสามารถสูงขึ้น และใช้งานได้ครบคุมกับทุกลักษณะงาน
ประวัติของ python
ภาษา Python มีการพัฒนามาอย่างยาวนานมากกว่า 20 ปีโดยเรียงลำดับประวัติความเป็นมาของ Python ได้ดังนี้
1989 จุดเริ่มต้นความคิดในการสร้างภาษา Python:
ภาษา Python ถูกสร้างขึ้นในต้นยุค
90 โดย Guido van Rossum ที่
Stichting Mathematisch Centrum (CWI) ในประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยต้นแบบภาษาสืบทอดมาจากภาษา ABC
ภาษา ABC เป็นภาษาที่ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการเรียนรู้
ซึ่ง Van Rossum เคยช่วยเหลือในการพัฒนาภาษา ABC ก่อนหน้านี้ในอาชีพที่เขาทำ
แต่ Van Rossum ได้มองเห็นปัญหาของภาษา ABC แต่เขาก็ยังคงชอบลักษณะเด่น
ๆ จำนวนมากของภาษา ABC อยู่ เขาจึงสร้างภาษาสคริปต์ (scripting
language) ใหม่ที่ใช้ไวยากรณ์ของ ABC ที่ได้แก้ไขปัญหาที่เขาพบบางอย่างลงไป
เช่น สนับสนุนการจัดการกับข้อผิดพลาด (Exception Handling) เป็นต้น Van Rossum เริ่มต้นพัฒนาภาษาใหม่ในช่วงวันหยุดคริสต์มาส
เดือนธันวาคม ค.ศ.1989 แต่ช่วงนั้นเขายังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาใหม่นี้
จนกระทั่ง เขาได้อ่านอ่านสคริปต์ที่ตีพิมพ์จากซีรีส์ตลก "Monty
Python’s Flying Circus" ของบีบีซี ซีรีส์ตลกจากช่วงยุค 1970 เขาจึงเลือกชื่อ "Python" กลายเป็นจุดเริ่มต้นของภาษา
Python
1990 Python ถูกเผยแพร่ภายใน CWI
1991 Python เวชั่นแรกที่ออกสู่สายตาชาวโลก :
20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 Python 0.9.0
ได้ออกมาสู่สายตาชาวโลกครั้งแรก โดยถูกเผยแพร่บน USENET (สามารถโหลดโค้ด
Python 0.9.1 ได้จาก https://www.python.org/download/releases/early/)
โดยมาพร้อมกับ classes พร้อมด้วย inheritance, การจัดการกับข้อผิดพลาด
(Exception Handling) , ฟังก์ชัน (functions), และชนิดข้อมูลหลัก
อย่างเช่น list, dict, str และอื่น ๆ
โดยทั้งหมดเป็นระบบโมดูลที่ยืมมาจาก Modula-3
เขาอธิบายว่า "one of Python's major programming units."
1994 Python 1.0 :
26 มกราคม ค.ศ.1994 Python 1.0
ได้ถูกปล่อยออกมา พร้อมกับเครื่องมือสำหรับ functional programming เช่น
lambda, map, filter และ
reduce เป็นต้น
1995 van Rossum ย้ายไปทำงานที่ CNRI :
หลังจากที่ van Rossum ออก
Python 1.2 แล้วได้ไปทำงานที่ Corporation for
National Research Initiatives (CNRI) และออก Python หลายเวชั่นต่อมาภายใต้
CNRI
2000 ทีมนักพัฒนา Python ย้ายไป
BeOpen.com :
ทีมนักพัฒนา Python ย้ายจาก
CNRI ไป BeOpen.com เป็นส่วนหนึ่งทีม
PythonLabs แต่ทาง CNRI ได้ร้องขอ
Python 1.6
ทีมนักพัฒนาจึงปล่อย Python 1.6 และ Python 2.0
โดยมีช่วงเวลาใกล้เคียงกัน
การพัฒนาของ Python 2.0
เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น
โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่โปร่งใสมากยิ่งขึ้นและได้มีการย้ายโค้ดไปฝากไว้บน SourceForge
ทำให้ผู้คนสามารถรายงานข้อผิดพลาดและส่งการแก้ไขข้อผิดพลาด (patches)
ได้ง่ายขึ้น
หลังจากที่ปล่อย Python 2.0
ภายใต้ BeOpen.com แล้วทั้ง Van Rossum และ
PythonLabs ได้ย้ายไปทำงานที่ Digital Creations (ปัจจุบันกลายเป็น
Zope Corporation) จึงทำให้ Python 2.0 เป็นเวชั่นเดียวที่ออกภายใต้ BeOpen.com
แต่ในขณะเดียวกันทาง FSF (Free Software
Foundation) ได้ออกมาแย้งว่าใบอนุญาตของ CNRI อันใหม่ที่เข้ากับ
Python 1.6 ทำให้ Python 1.6
เกิดปัญหาเข้ากันไม่ได้กับ GPL และใบอนุญาตของ Python 2.0
ก็มีปัญหาเข้ากันไม่ได้กับ GPL เช่นกัน จึงทำให้ทาง BeOpen, CNRI และ
FSF เกิดการเจรจาต่อรองต่อมาเพื่อที่จะทำให้ Python
เป็น Free software license โดยเข้ากันได้กับ GPL
Python 1.6.1
จึงถูกปล่อยออกมาโดยแก้ไขข้อผิดพลาดและใบอนุญาตที่เข้ากันได้กับ GPL แต่ทาง
FSF กลับกล่าวว่า Python 1.6.1
เข้ากันไม่ได้กับ GPL [1]
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น