เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่นอุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร วัสดุ หรือสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น กระบวนการต่างๆ
เทคโนโลยีสามารถแบ่งลักษณะออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
- ลักษณะกระบวนการ คือ เป็นการใช้อย่างเป็นระบบของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปปฏิบัติและแก้ไข
- ลักษณะของผลผลิต คือ วัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลมาจากการใช้กระบวนการทางเทคโนโลยี
- ลักษณะผสมของกระบวนการและผลผลิต คือ ระบบคอมมีการทำงานเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวเครื่องกับโปรแกรมเทคโนโลยีชีวภาพ
2.ระบบทางเทคโนโลยี
ระบบทางเทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ทางธรรมชาติวิทยาและต่อเนื่องมาถึงวิทยาศาสตร์มาเป็นวิธีการปฏิบัติและประยุกต์ใช้เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆอันก่อให้เกิดวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร แม้กระทั่งองค์ความรู้นามธรรมเช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
- กระบวนการเทคโนโลยี
- ตัวป้อน (Input) คือ ปัญหาที่ต้องการแก้ไข หรือ ความต้องการของมนุษย์
- กระบวนการเทคโนโลยี (Technological Process) คือ ขั้นตอนการแก้ปัญหาหรือการตอบสนองความต้องการ โดยอาศัยทรัพยากรทางเทคโนโลยีเพื่อให้ได้ผลผลิตหรือผลลัพธ์
- ผลผลิตหรือผลลัพธ์ (Output หรือ Outcome) คือ สิ่งทีได้มา หรือเกิดขึ้นจากกระบวนการเทคโนโลยี หรือผลที่ได้จากกระบวนการแก้ปัญหานั่นเอง โดยผลผลิตหรือผลลัพธ์ที่ได้จากระบวนการเทคโนโลยี (กระบวนการแก้ปัญหา) นี้อาจ เป็น ชิ้นงาน (Product) หรืออาจเป็นวิธีการ (Methodology)
- ทรัพยากรทางเทคโนโลยี (Resource) คือสิ่งที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลผลิตหรือผลลัพธ์นั่นเอง ซึ่งทรัพยากรทางเทคโนโลยี แบ่งได้ 7 ด้าน ได้แก่ คน ข้อมูลและสารสนเทศ วัสดุ เครื่องมือและอุปกรณ์ พลังงาน ทุนหรือทรัพย์สิน และเวลา
- ปัจจัยที่ขัดขวางต่อเทคโนโลยี (Constraints) คือ สิ่งที่เป็นข้อจำกัด ข้อพิจารณา หรือสิ่งที่ต้องคำนึงถึง ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาได้ผลงานแตกต่างกันไป เช่น มีทุนน้อย มีเวลาจำกัด ไม่มีความรู้หรือความชำนาญ ขาดทักษะและความคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
3.ความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยี
คือ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐานสามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมาก มีราคาถูกลง สินค้าได้คุณภาพ เทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งให้บริการด้านข้อมูล ข่าวสารด้วยกลไกอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้มีการติดต่อสื่อสารกันได้สะดวก รวดเร็วตลอดเวลา จะเห็นว่าชีวิตปัจจุบันเกี่ยวข้อง กับเทคโนโลยีเป็นอันมาก ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในการทำงาน
ในอดีตยุคที่มนุษย์ไม่มีถิ่นฐานแน่นอน มีชีวิตที่เร่ร่อน มีอาชีพเกษตรกรรม ล่าสัตว์ ต่อมามีการรวมตัวกันเป็นสังคมเมือง และทำให้เกิดการผลิตเชิงอุตสาหกรรม เพื่อตอบสนองความต้องการสินค้าและบริการปริมาณมาก สังคมจึงเป็นสังคมเมืองที่มีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่หลังจากปี พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและคอมพิวเตอร์ก้าวหน้ามาก ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ยุคสังคมสารสนเทศ ชีวิตความเป็นอยู่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การสื่อสารโทรคมนาคมกระจายทั่วถึง ทำให้ข่าวสารแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว สังคมในปัจจุบันเป็นสังคมไร้พรมแดน เพราะเรื่องราวของประเทศหนึ่งสามารถกระจายแพร่ไปยังประเทศต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับศาสตร์อื่นๆ
คือ การทำงานตามกระบวนการทางเทคโนโลยีเริ่มจากวิเคราะห์ความต้องการของตน สื่อสารความต้องการให้ผู้อื่นเข้าใจ และเสนอแนวทางแก้ปัญหา ซึ่งต้องอาศัยทักษะการพูด อ่านและเขียน ลักษณะพฤติกรรมการเรียนรู้เทคโนโลยีต้องอาศัยทักษะทางภาษาซึ่งเป็นศาสตร์ของมนุษย์ศาสตร์ ดังนี้1. ทักษะการฟัง พูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทาง เทคโนโลยีกับคนอื่น ๆ ในการทำกิจกรรม
2. ทักษะการเขียน นำเสนอข้อมูลเชิงสัญลักษณ์ หรืออธิบายแนวคิดของตน
3. ทักษะการสรุป กิจกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวข้องกับการร่างโครงการและการอธิบาย กระบวนการ ทำงานจนได้ชิ้นงานการเขียนข้อสรุปจึงเป็นสิ่งสำคัญของ เทคโนโลยี
ความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีกับสังคมศาสตร์
คือ ผู้เรียนต้องเข้าใจประวัติความเป็นมาทั้งอดีตจนถึงปัจจุบันและเทคโนโลยีในอนาคตช่วยสร้างสรรค์มนุษยชาติ จึงต้องให้ผู้เรียนตระหนักถึงหน้าที่ และความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกที่ดีของสังคม โดยกิจกรรมดังนี้
- สำรวจบทบาทเทคโนโลยีต่อสังคม
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
- เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่ง เหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
เทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง ศิลปะในการสร้าว ประยุกต์ หรือดัดแปลง เครื่องมือใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมวิถีชีวิต สภาพท้องถิ่นได้อย่างมีประโยชน์และประหยัดเทคโนโลยีท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งที่ท้องถิ่นคิดขึ้นเอง เช่น การสารแห เป็นต้น หรือหมายถึงสิ่งที่นำมาดัดแปลง ปรับปรุง หรือพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ประหยัดคุ้มค่า สะดวกและปลอดภัยในการใช้ เช่น ปืนแก๊ป การทำเครื่องมือหยอดเมล็ดพืช เป็นต้น
ประเภทของภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น
- การจัดการทรัพยากรธรรมชาติให้สนองความต้องการได้อย่างฉลาด
- เข้าใจข้อจำกัดของปัจจัยต่าง ๆ ทางสังคม ค่านิยม โครงสร้างสังคม โดยนำสิ่ง เหล่านี้มาประกอบการตัดสินใจในกิจกรรมทางเทคโนโลยี
5.เทคโนโลยีท้องถิ่นและเทคโนโลยีนำเข้า
ภูมิปัญญา หมายถึง แบบแผนการดำเนินชีวิตที่มีคุณค่าแสดงถึงความเฉลียวฉลาดของบุคคล และสังคม ซึ่งได้สั่งสมและปฏิบัติสืบต่อกันมาภูมิปัญญาจะเป็นทรัพยากรของบุคคลหรือทรัพยากรความรู้ก็ได้
- ทรัพยากรความรู้ที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ความรู้ในสาขาอาชีพหรือวิชาการด้านต่างๆ เช่น การคัดเลือกพันธ์ข้าว การถนอมอาหาร วัฒนธรรม ศิลปะ จารีตประเพณี เป็นต้น
- ทรัพยากรบุคคลที่ถือว่าเป็นภูมิปัญญา ได้แก่ ชาวนาผู้ประสบความสำเร็จากการผลิตพราหมณ์ ผู้เชี่ยวชาญในบายศรี เป็นต้น
ภูมิปัญญาชาวบ้าน หมายถึง ทรัพยากรบุคคล ทรัพยากรความรู้ที่มีอยู่ในท้องถิ่นแต่ละแห่ง ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน หรือเป็นลักษณะสากล ที่หลายถิ่นมีคล้ายกันก็ได้ ภูมิปัญญาชาวบ้านในแต่ละถิ่นเกิดจากการแสวงหาความรู้ เพื่อเอาชนะอุปสรรคทางธรรมชาติ ทางสังคม ที่จำเป็นในการดำรงชีวิต ภูมิปัญญานี้จึงเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกีบการผลิตและชาวบ้าน เช่น การประกอบพิธีกรรมของชุมชน หรือประเพณีการรวมกำลังช่วยกันทำงานใหญ่หลวงเกินวิสัยที่จะทำสำเร็จได้โดยคนเดียวเป็นต้นเทคโนโลยีท้องถิ่น หมายถึง ศิลปะในการสร้าว ประยุกต์ หรือดัดแปลง เครื่องมือใช้ให้สอดคล้อง เหมาะสมวิถีชีวิต สภาพท้องถิ่นได้อย่างมีประโยชน์และประหยัดเทคโนโลยีท้องถิ่น รวมทั้งสิ่งที่ท้องถิ่นคิดขึ้นเอง เช่น การสารแห เป็นต้น หรือหมายถึงสิ่งที่นำมาดัดแปลง ปรับปรุง หรือพัฒนาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย ประหยัดคุ้มค่า สะดวกและปลอดภัยในการใช้ เช่น ปืนแก๊ป การทำเครื่องมือหยอดเมล็ดพืช เป็นต้น
ประเภทของภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น
ภูมิปัญญาด้านประเพณีชาวบ้าน ตามแบแผนการดำเนินชีวิตจะเห็นว่านอกจากภูมิปัญญาที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค การประกอบอาชีพ ฯลฯ ชาวบ้านยังต้องประกอบกิจประเพณีส่วนตัวและส่วนรวมกันมาหลายรุ่น หลายสมัย
ภูมิปัญญาด้านประเพณีส่วนตัว นิยมทำในช่วงสำคัญของชีวิต เช่น การเกิด หารบวช เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเสริมมงคลของชีวิต ทั้งในปัจจุบันและชาติภพหน้า นอกจากนั้นแล้วยังเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาชีวิต หรือป้องกันมิให้ชีวิตประสบปัญหาหรือเป็นหารสร้างขวัญและกำลังใจ เช่น ประเพณีสู่ขวัญเด็กอ่อน เป็นต้น หรือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ผู้ประกอบพิธีรอดพ้นจากภัยอันตรายทั้งปวงอีก
ภูมิปัญญาด้านประเพณีส่วนรวม เป็นกิจกรรมที่ต้องทำร่วมกันทั้งชุมชน เพื่อให้ชุมชนมั่นคงมีสายสัมพันธ์ ร้อยรัดให้เกิดความสามัคคี ช่วยกันสร้างสิ่งที่เป็นหลักของชุมชนร่วมกันสร้างวัด สร้างศาลา หรือสร้างแบบแผนที่ดีงามให้เป็นบรรทัดฐานอย่างเดียวกัน เช่นแบบแผนการผลิต หลักศีลธรรม จริยธรรม ที่เป็นแนวปฏิบัติให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ภูมิปัญญาชาวบ้านและเทคโนโลยีท้องถิ่น ที่ปรากฏวิถีชีวิตของชาวบ้าน แยกเป็นส่วนต่างๆ
6.เทคโนโลยีกับการพัฒนาประเทศ
มี 5 ประเภท ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทในด้านเศรษฐกิจโดยสามารถนำมาประยุกต์ ใช้ประโยชน์และเพิ่มขีดสามารถในการแข่งขันทั้งภาคการผลิตและบริการ ภาคการเงินการคลังทั้งภายใน ประเทศและเพื่อการส่งออก อีกทั้งยังประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
2.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านด้านสังคม เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้พัฒนาสังคมให้เกิดการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ เช่นโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เข้าไปช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทางสังคมได้มีคอมพิวเตอร์ใช้ เช่นโรงเรียนชนบท คนป่วยเรื้อรังในโรงพยาบาลผู้ต้องขัง และคนตาบอดที่สามารถอ่านหนังสือได้ด้วยระบบ DAISY(Digital Accessible Information System)
3.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านศึกษา แนวทางการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาไว้ 5 ประเด็น คือ
3.1.การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction) มีหลายรูปแบบเช่น Drill and Practice, Linear Program , Branching Program, Simulation, Game, Multimedia, Intelligence CAI
3.2.การศึกษาทางไกล (Distance Learning) ซึ่งจัดได้หลายรูปแบบ เช่น การใช้วิทยุ โทรทัศน์ การสื่อสารโดยใช้ระบบแพร่ภาพผ่านดาวเทียม (Direct to Home : DTH) หรือระบบการประชุมทางไกล (Video Teleconference)
3.3.เครือข่ายการศึกษา(Education Network) ซึ่งเป็นการนำเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมาใช้ ซึ่งมีบริการในหลายรูปแบบ เช่น Electronic Mail , File Transfer Protocol, Telnet , World Wide Web เป็นต้น เครื่องข่ายคอมพิวเตอร์จะสามารถให้ผู้เรียนได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่มีจำนวนมากมายที่เชื่อมโยงในเครือข่ายทั่วโลก
3.4.การใช้งานในห้องสมุด (Electronic Library) เป็นการประยุกต์ใช้ในการสืบค้นข้อมูลหนังสือ วารสาร หรือบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ ผลงานการวิจัย
3.5.การใช้งานในห้องปฏิบัติการ เช่น การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการจำลองสถานการณ์ (Simulation) การใช้ในงานประจำและงานบริหาร (Computer Manage Instruction) เป็นการประยุกต์ใช้ในสำนักงานเพื่อช่วยในการบริหาร จัดการ ทำให้เกิดความคล่องตัว รวดเร็วและแม่นยำ การตัดสินใจในการดำเนินการต่างๆ ย่อมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
4.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการนำมาใช้ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขอย่างกว้างขวาง และทำให้งานด้าน สาธารณสุขเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงสาธารณสุข ได้ปรับระบบการบริหารงาน และนำเทคโนโลยี สารสนเทศมาใช้ในงานต่างๆ ดังนี้
4.1ด้านการลงทะเบียนผู้ป่วย ตั้งแต่เริ่มทำบัตร จ่ายยาเก็บเงิน
4.2การสนับสนุนการรักษาพยาบาล โดยการเชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ต่างๆ เข้าด้วยกัน สามารถสร้างเครือข่ายข้อมูลทางการแพทย์ แลกเปลี่ยนข้อมูลของผู้ป่วย
4.3 สามารถให้คำปรึกษาทางไกล โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชำนาญ เทคโนโลยี สารสนเทศ จะช่วยให้แพทย์สามารถเห็นหน้า หรือท่าทางของผู้ป่วยได้ช่วยให้ส่งข้อมูลที่เป็นเอกสาร หรือภาพเพื่อประกอบการพิจารณาของแพทย์ได้
4.4เทคโนโลยีสารสนเทศ จะช่วยในการ ให้ความรู้แก่ประชาชนของแพทย์ หรือหน่วยงานสาธารณสุขต่างๆ เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว ได้ผลขึ้น โดยสามารถใช้สื่อต่างๆ เช่นภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวมีเสียงและอื่นๆ เป็นต้น
4.5เทคโนโลยีสารสนเทศ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดนโยบาย และ ติดตามกำกับการดำเนินงานตามนโยบายได้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องฉับไว และข้อมูลที่จำเป็น ทั้งนี้อาจใช้คอมพิวเตอร์เป็นตัวเก็บข้อมูลต่างๆ ทำให้การบริหารเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็ว ถูกต้องมากยิ่งขึ้น
4.6ในด้านการให้ความรู้หรือการเรียน การสอนทางไกล เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะดาวเทียม จะช่วยให้การเรียนการสอนทางไกลทางด้านการแพทย์และสาธารณะสุข เป็นไปได้มากขึ้นประชาชนสามารถเรียนรู้พร้อมกันได้ทั่วประเทศและ ยังสามารถโต้ตอบหรือถามคำถามได้ด้วย
5.เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร ธรรมชาติ นำเอาเทคโนโลยีที่เรียกว่า GIS (Geographic Information System) เข้ามาจัดเก็บและประมวลผลข้อมูลทางภูมิศาสตร์ โดยกำหนดข้อมูลด้านตำแหน่งที่ตั้งบนผิวโลก (ground position) ซึ่งรวบรวม จากแหล่งต่างๆ ทั้งข้อมูลพื้นที่ แผนที่ รูปถ่ายทางอากาศ ภาพถ่ายทางดาวเทียม เพื่อนำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาผังเมือง ประยุกต์ใช้งานทางด้านธรณีวิทยา การพยากรณ์อากาศและการควบคุมสิ่งแวดล้อม
ผังมโนทัศน์ของเทคโนโลยี
เนื้อหาดีมาก
ตอบลบดีมาก
ตอบลบข้อมูลแน่นดีค่ะ
ตอบลบว้าววววว
ตอบลบดีมากค่ะ
ตอบลบเนื้อหาอ่านแล้วเข้าใจดีค่ะ
ตอบลบ