วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

Technology

Technology 4.0


“ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าหมายถึงอะไร เกี่ยวข้องกับพวกเรายังไง ส่งผลอะไรต่อชีวิตเราบ้าง และประเทศไทยในตอนนี้อยู่ในยุคใด คนไทยมีชีวิตผูกติดกับดิจิทัลมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้อินเทอร์เน็ต ซื้อขายออนไลน์ อีคอมเมิร์ซ ทำธุรกรรมการเงินผ่านแอพพลิเคชั่น การสื่อสาร แต่เพียงเท่านี้ยังไม่พอที่จะพาสังคมไทยเข้าสู่ยุคดิจิทัล 4.0 ได้

Digital 1.0 เปิดโลกอินเตอร์เน็ต

            ยุคนี้เป็นยุคเริ่มต้นของ “Internet เป็นช่วงเวลาที่กิจกรรมและการดำเนินชีวิตของผู้คนเปลี่ยนจากออฟไลน์ (offline) มาเป็นออนไลน์(online)มากขึ้น เช่น การส่งจดหมายทางไปรษณีย์ก็เปลี่ยนมาเป็นการส่งอีเมล์ E-mail และอีกหนึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การถือกำเนิดของเว็บไซต์ Website ที่ทำให้เราเข้าถึงทุกอย่างได้ง่ายขึ้นและทั่วถึง การอัพเดตรวดเร็วตลอด 24 ชั่วโมง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบครั้งใหญ่และเป็นวงกว้าง การดำเนินกิจกรรมสะดวกและรวดเร็ว เริ่มมีกิจกรรมเชิงพาณิชย์และโฆษณาผ่านเครื่องมือออนไลน์เสมือนกับมีหน้าร้านที่ทุกคนบนโลกจะเห็นเราได้ง่ายขึ้น

Digital 2.0 ยุคโซเชียลมีเดีย

ต่อยอดจากยุค 1.0 ก็จะเป็นยุคที่ผู้บริโภคเริ่มสร้างเครือข่ายติดต่อสื่อสารกันในโลกออนไลน์ เครือข่ายสังคม Social Network นี้เริ่มจากการคุยหรือแชทกับเพื่อน สมาคม กลุ่มเล็กๆของผู้คนที่ต้องการความสะดวกสบายในการติดต่อสื่อสาร จุดเล็กๆนี้เริ่มพัฒนาและขยายวงกว้างไปสู่การดำเนินกิจกรรมในเชิงธุรกิจ โดยนักธุรกิจส่วนใหญ่มองว่า Social Media เป็นเครื่องมือเชื่อมต่อและสร้างเครือข่ายทางธุรกิจให้แก่พวกเขาได้เป็นอย่างดีด้วยการคลิกเพียงครั้งเดียว อีกทั้งยังช่วยในการพัฒนา Brand วัดผลการดำเนินงานของธุรกิจ ส่งเสริมภาพลักษณ์แบรนด์ เสมือนว่า Social Media เป็นกระบอกเสียงและเวทีเสนองานแก่นักธุรกิจสู่สายตาชาวโลกเป็นอย่างดี เครื่องมือโซเชียลยังสามารถเป็นอำนาจในการต่อรองของผู้บริโภคที่กำลังตัดสินใจเลือกสินค้าและบริการ เนื่องจากมีตัวเลือกและร้านค้าให้เห็นมากขึ้นอีกด้วย

Digital 3.0 ยุคแห่งข้อมูลและบิ๊กดาต้า

ยุคแห่งการใช้ข้อมูลที่วิ่งเข้าออกเป็นล้านๆดาต้าให้เป็นประโยชน์ การเติบโตของโซเชียลมีเดียและ E-Commerce จากยุค 2.0 ทำให้เกิดการขยายของข้อมูลอย่างมหาศาล ทุกแพลตฟอร์มไม่ว่าจะเป็น สื่อโซเชี่ยล เว็บเบราวเซอร์ หรือแม้แต่ธุรกิจอย่างธนาคาร โลจิสติกส์ ประกันภัย รีเทล ต่างมีข้อมูลเข้าออกเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน และเริ่มมีการนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ดังคำกล่าวที่ว่า “ใครมีข้อมูลมาก ก็มีอำนาจมาก”
ข้อมูลถูกนำมาประมวลผล จับสาระ วิเคราะห์ถึงความต้องการของผู้บริโภคเพื่อสร้างสินค้าและบริการที่สามารถตอบสนองโจทย์ของลูกค้าได้ ทุกองค์กรต่างเห็นความสำคัญของการนำบิ๊กดาต้ามาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด แต่การนำบิ๊กดาต้ามาตอบสนองอย่างเรียลไทม์นั้น จำเป็นต้องมีระบบคลาวด์ Cloud Computing มาช่วยอำนวยความสะดวก จัดเก็บข้อมูล เลือกทรัพยากรตามการใช้งาน และทำให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์จากที่ใดก็ได้ ผู้ใช้ทุกคนสามารถเข้าถึงระบบ ข้อมูลต่างๆผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถจัดการ บริหารข้อมูล และแบ่งปันข้อมูลกับผู้อื่น (Shared Services) ลดต้นทุนและลดความยุ่งยากเพื่อโฟกัสกับงานหลัก เพิ่มความเร็วในการบริการและการทำธุรกิจได้มากขึ้น
บิ๊กดาต้าสามารถนำมาต่อยอดโดยการคิดค้น เฟ้นหา และประยุกต์ใช้ข้อมูลนั้น พัฒนาเป็นแอพลิเคชั่น Application ที่ให้ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภคผ่านทางสมาร์ทโฟนและแท็บเลตอีกด้วย

Digital 4.0 เมื่อเทคโนโลยีมีมันสมอง

และเราก็มาถึงยุคที่ความฉลาดของเทคโนโลยีจะทำให้อุปกรณ์ต่างๆสื่อสารและทำงานกันเองได้อย่างอัตโนมัติ เทคโนโลยีในสามยุคแรกที่กล่าวไปเปรียบเสมือนเป็นแขน ขา ให้แก่มนุษย์ เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยเหลือ อำนวยความสะดวก หยิบจับ คำนวณ ประมวลผมให้มนุษย์ มีแขน ขา แต่ไม่มีสมองเป็นของตัวเอง ในยุค 4.0 เทคโนโลยีถูกนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อลดบทบาทของมนุษย์ และเพิ่มศักยภาพของมนุษย์ในการใช้ความคิดเพื่อข้ามขีดจำกัด สร้างสรรค์พัฒนาสิ่งใหม่ๆ โดยจะใช้ชื่อยุคนี้ว่าเป็นยุค Machine-to-Machine เช่น เราสามารถเปิด-ปิด หรือสั่งงานอื่นๆกับเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านตัวเองผ่านแอพลิเคชั่นโดยไม่ต้องเดินไปกดสวิตช์ หรือตัวอย่างที่ถูกนำมาใช้งานจริงแล้วอย่างการพูดคำว่า “แคปเจอร์” กับแอพถ่ายภาพในสมาร์ทโฟน โทรศัพท์ก็จะถ่ายรูปให้อัตโนมัติโดยที่เราไม่ต้องกดถ่ายด้วยซ้ำ หรือแม้แต่เทคโนโลยีซิมูเลชั่น Simulation จำลองสถานการณ์เพื่อฝึกอบรมพนักงาน วางแผนสถานการณ์โดยที่ไม่ต้องเดินทางไปถึงสถานที่จริง หรือเป็นสื่อการเรียนรู้แบบ Interactive เป็นต้น

Technology ล้าสมัย

เครื่องวิทยุ AM /FN

ถึงปัจจุบันเราจะสามารถฟังวิทยุผ่านมือถือกันได้เเล้ว เเต่ทั้งในรถยนต์หรือร้านอาหารข้างทางธรรมดาๆ ก็ใช้วิทยุกันทั้งนั้นนะครับ เพราะบางทีเปิดมือถือมานั้นส่วนใหญ่ก็กดเกมเล่นกันไม่ก็อ่านเฟสบุ๊คทำให้วิทยุเหล่านี้ก็ยังขายได้อยู่ดีถึงจะน้อยก็ตาม

สายเเจ็คเสียง 3.5mm

สายหูฟังที่ใช้กันมาอย่างยาวนานที่ไม่มีท่าทีว่าจะหายไปง่ายๆ ถึงเเม้ iphone 7 จะนำช่องนี้ออกก็ตามเเต่ก็ยังมีอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้กันอยู่ทั่วบ้านทั่วเมืองอยู่ดี

ตลับเกมคลาสสิก

ตลับเกมที่ตอนเด็กๆ คนที่เคยเล่นน่าจะเคยหยิบเอามาเป่าก่อนเสียบเล่นกัน ที่ถึงปัจจุบันเครื่องเกมจะเปลี่ยนเป็นเเบบ blu-ray /Digital กันหมดเเล้ว เเต่ก็ยังมีกลุ่มคนที่ชอบของคลาสสิกเหล่านี้กันอยู่ที่คลาสสิกสุดๆ ขนาดยังใช้ตลับเล่นกันอยู่นั่นเอง

โทรทัศน์ CRT

เครื่องโทรทัศน์ใหญ่ๆ อ้วนๆ ที่พบเห็นกันได้ตามร้านอาหารข้างทางทั่วไป หรือบ้านบางคนที่มีคนเถ้าคนเเก่ที่มีเครื่องเเบบนี้มานานเเล้วที่ยังใช้ดูข่าวดูละครอยู่ทุกวัน ที่ถึงในตลาดจะมีเเต่ LCD,LED ขายกันหมดเเล้ว เเต่เครื่องเเบบนี้ก็ยังมีคนใช้กันอยู่ดี

กล้อง Digital

'
เเน่นอนว่ากล้องเเบบนี้นั้นปัจจุบันก็เเทบจะเเทนที่กล้องฟิล์มกันหมดเเล้ว เเต่ถ้าย้อนไปจุดกำเนิดนั้นก็เรียกได้ว่าเกือบ 20-30 ปีเเล้ว ซึ่งสิ่งที่ทำให้มันอยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ก็เพราะความสะดวกนั่นเองที่ทำให้มีการปรับปรุงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ถึงจะคิดค้นกันมานานเเล้วก็ยังใช้กันได้อยู่นั่นเอง

ฝุ่น Pm2.5

ฝุ่น PM 2.5


PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน อาจเทียบอย่างง่ายว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ เล็กขนาดที่ขนจมูกของมนุษย์นั้นไม่สามารถกรองได้ ทำให้ฝุ่นละอองชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และแทรกซึมสู่กระบวนการทำงานในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรัง




โดยที่ PM2.5 เกิดขึ้นได้จาก 2 ปัจจัยหลักคือ

1. แหล่งกำเนิดโดยตรง ได้แก่
  • การเผาในที่โล่ง ปล่อย PM2.5 มากที่สุดถึง 209,937 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาในพื้นที่เพาะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อป้อนเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานการผลิตอาหารของบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่ในภาคเหนือตอนบนของไทยและภูมิภาคลุ่มน้ำโขง รวมไปถึงหมอกควันพิษข้ามพรมแดน
  • การคมนาคมขนส่ง ปล่อย PM2.5 ราว 50,240 ตันต่อปี โดยมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงทั้งดีเซลและแก๊สโซฮอล์เป็นหลัก อีกทั้งยังเป็นแหล่งกำเนิดของออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) อีกด้วย
  • การผลิตไฟฟ้า ปล่อย PM2.5 ราว 31,793 ตันต่อปี แม้จะมีค่า PM2.5 น้อยกว่าการเผาในที่โล่งและการคมนาคมขนส่ง หากแต่กลับมีสัดส่วนในการปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) สู่ชั้นบรรยากาศมากที่สุด
  • อุตสาหกรรมการผลิต ปล่อย PM2.5 ราว 65,140 ตันต่อปี โดยพบมากที่สุดในพื้นท่ีเขตควบคุมมลพิษมาบตาพุด จังหวัดระยอง ซึ่งเกิดจากสารอินทรีย์ระเหยง่ายจากสารเคมีและอุตสาหกรรม

2. การรวมตัวของก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศ โดยเฉพาะซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) รวมทั้งมีสารปรอท (Hg), แคดเมียม (Cd), อาร์เซนิก (As) หรือโพลีไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน (PAHs) ที่ล้วนแล้วแต่เป็นสารพิษที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์
ด้วยองค์ประกอบของสารพิษเหล่านี้ ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดให้ PM2.5 จัดอยู่ในกลุ่มที่ 1 ของสารก่อมะเร็ง ตั้งแต่ปี 2556 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุให้ 1 ใน 8 ของประชากรโลกเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สอดรับกับรายงานของธนาคารโลก (World Bank) ที่ระบุว่า ประเทศไทยมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษในอากาศเป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรมากถึง 50,000 ราย ซึ่งการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรนี้ส่งผลกระทบไปถึงระบบเศรษฐกิจ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายที่รัฐจะต้องสูญเสียเกี่ยวเนื่องกับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยจากมลภาวะทางอากาศนี้อีกด้วย

ค่า PM2.5 ตามกำหนดองค์การอนามัยโลก
ในปี 2548 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกคำแนะนำเพิ่มเติมในการกำหนดค่าเป้าหมายของค่ามาตรฐานเฉลี่ย 1 ปี แบ่งเป็น 4 ระดับ ได้แก่ 35, 25, 15 และ 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ขึ้นอยู่กับระดับการพัฒนาของประเทศ โดยค่าเฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงขององค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 10 และ 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามลำดับ

แต่ไทยได้มีการกำหนดค่าไว้สูงกว่าค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลก โดยมีค่าเฉลี่ยรายปีและค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงไว้ที่ 25 และ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ตามข้อสรุปขององค์การสหประชาชาติ (UN) ที่ว่า ประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนา ทำให้เป็นประเทศที่ได้รับสิทธิพิเศษที่จะสามารถปล่อยมลพิษทางอากาศได้มากกว่าหลายประเทศ

กรีนพีซ ได้รายงานค่าฝุ่นละอองจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรมควบคุมมลพิษทั้งหมด 61 แห่งใน 29 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีจำนวนสถานีที่ตรวจวัดและรายงานค่า PM2.5 อยู่เพียง 25 สถานีใน 18 จังหวัด พบค่า PM2.5 สูงสุดอยู่ที่จังหวัดสระบุรี (หน้าพระลาน) ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรม จำนวน 36 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และรองลงมาคือกรุงเทพฯ (ธนบุรี) จำนวน 31 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งพบว่ามาจากการคมนาคมสัญจร

หลังจากนั้น กรีนพีซได้นำค่า PM2.5 เข้าไปวัดร่วมกับผลดัชนีคุณภาพอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ พบว่าผลดัชนีคุณภาพอากาศย้อนหลัง 3 ปี คือปี 2558-2560 นั้นมีมลพิษเกินค่ามาตรฐานขององค์การอนามัยโลกและค่ามาตรฐานของประเทศไทย เป็นช่วงเวลา 3 ปีซ้อนที่พบว่าค่ามาตรฐานมลพิษในอากาศของประเทศไทยยังคงแย่เหมือนเดิม

ไม่ใช่เพียงแค่ในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังมีอีกหลายพื้นที่ที่กำลังจะต้องเผชิญกับปัญหามลภาวะครั้งใหม่ เพราะการขยายฐานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ที่จะกลายเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือแม้กระทั่งแผนการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยที่ยังไม่เคยได้มีการกล่าวถึงการจัดการกับตัวการของปัญหาสุขภาพอย่าง PM2.5 ที่กำลังจะเพิ่มขึ้นไปตามการพัฒนาของเมือง สวนทางกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals) ซึ่งเป็นหนึ่งหมุดหมายในร่างยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) ที่ระบุไว้ว่าประเทศไทยจะต้องดำเนินการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมตามที่ลงนามรองรับวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน 2030 ขององค์การสหประชาชาติ
ดังนั้นปัญหามลภาวะจาก PM2.5 จึงเป็นสิ่งที่ควรจัดการควบคู่ไปกับแผนพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ เพื่อพัฒนาคุณภาพอากาศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

โดยมีตัวอย่างจากหลายประเทศที่ประสบผลสำเร็จในการควบคุมมลพิษในอากาศ ซึ่งเริ่มแรกมีการกำหนดค่าการปล่อย PM2.5 ไว้ใกล้เคียงกับไทย แต่ปัจจุบันประเทศเหล่านี้ได้ดำเนินเรื่องนี้ในเชิงนโยบายเพื่อคุ้มครองสุขภาพพลเมืองในประเทศ เช่น สิงคโปร์, ญี่ปุ่น, อเมริกา ที่ปัจจุบันมีค่า PM2.5 อยู่ที่ 12, 14 และ 15 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายขององค์การอนามัยโลก และเอาจริงเอาจังในการคุ้มครองประชาชนด้วยจัดการแก้ไขปัญหาระบบขนส่งสาธารณะเพื่อสนับสนุนให้ประชาชนหันมาใช้ระบบขนส่งสาธารณะเป็นทางเลือกหลัก ตลอดจนควบคุมการปล่อยสารพิษของโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุของปัญหามลภาวะอย่างจริงจัง  

ในขณะที่ประเทศไทยกำลังเริ่มต้นรับรู้ในเรื่องของ PM2.5 อยู่นี้ องค์การอนามัยโลกและนานาชาติก็ก้าวไปอีกขั้นด้วยการหันไปจับตามองและถกกันในเรื่องของฝุ่นที่มีขนาดเล็กระดับนาโน (Environmental Nano-pollutants: ENP) และหาวิธีการรับมือเพื่อคุ้มครองประชาชนอย่างจริงจัง จากมลภาวะที่กำลังก่อตัวเป็นหมอกควันขึ้นไปเกาะตัวบนชั้นโอโซน แล้วย้อนกลับลงมาเพื่อสร้างผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์โดยตรง

อาจต้องมาดูกันว่าอากาศหมอกควันที่แผ่คลุมท้องฟ้าอยู่ในขณะนี้จะได้รับการแก้ไขอย่างไร เพราะนี่ไม่ใช่เพียงปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงรอยต่อของฤดูกาลเท่านั้น หากแต่เกิดขึ้นจากการสะสมของสารพิษที่มากขึ้นทุกขณะโดยขาดการรับมืออย่างจริงจัง

ถึงเวลาแล้วที่เราต้องหันมาถกกันอย่างจริงจังว่า ทำอย่างไรเราจึงจะมีอากาศที่ดีได้ใช้หายใจตามสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์

ภาพประกอบ: Karin Foxx
อ้างอิง:

Python

PYTHON



   Python คือ ชื่อภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นมาโดยไม่ยึดติดกับแพลตฟอร์ม กล่าวคือสามารถรันภาษา Python ได้ทั้งบนระบบ Unix, Linux , Windows NT, Windows 2000, Windows XP หรือแม้แต่ระบบ FreeBSD อีกอย่างหนึ่งภาษาตัว นี้เป็น Open Source เหมือนอย่าง PHP ทำให้ทุกคนสามารถที่จะนำ Python มาพัฒนาโปรแกรมของเราได้ฟรีๆโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และความเป็น Open Source ทำให้มีคนเข้ามาช่วยกันพัฒนาให้ Python มีความสามารถสูงขึ้น และใช้งานได้ครบคุมกับทุกลักษณะงาน

     ประวัติของ python 

ภาษา Python มีการพัฒนามาอย่างยาวนานมากกว่า 20 ปีโดยเรียงลำดับประวัติความเป็นมาของ Python ได้ดังนี้

 1989 จุดเริ่มต้นความคิดในการสร้างภาษา Python:

ภาษา Python ถูกสร้างขึ้นในต้นยุค 90 โดย Guido van Rossum ที่ Stichting Mathematisch Centrum (CWI) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยต้นแบบภาษาสืบทอดมาจากภาษา ABC
 ภาษา ABC เป็นภาษาที่ถูกออกแบบให้ง่ายต่อการเรียนรู้ ซึ่ง Van Rossum เคยช่วยเหลือในการพัฒนาภาษา ABC ก่อนหน้านี้ในอาชีพที่เขาทำ แต่ Van Rossum ได้มองเห็นปัญหาของภาษา ABC แต่เขาก็ยังคงชอบลักษณะเด่น ๆ จำนวนมากของภาษา ABC อยู่ เขาจึงสร้างภาษาสคริปต์ (scripting language) ใหม่ที่ใช้ไวยากรณ์ของ ABC ที่ได้แก้ไขปัญหาที่เขาพบบางอย่างลงไป เช่น สนับสนุนการจัดการกับข้อผิดพลาด (Exception Handling) เป็นต้น Van Rossum เริ่มต้นพัฒนาภาษาใหม่ในช่วงวันหยุดคริสต์มาส เดือนธันวาคม ค.ศ.1989 แต่ช่วงนั้นเขายังไม่ได้ตั้งชื่อภาษาใหม่นี้ จนกระทั่ง เขาได้อ่านอ่านสคริปต์ที่ตีพิมพ์จากซีรีส์ตลก "Monty Python’s Flying Circus" ของบีบีซี ซีรีส์ตลกจากช่วงยุค 1970  เขาจึงเลือกชื่อ "Python" กลายเป็นจุดเริ่มต้นของภาษา Python

1990 Python ถูกเผยแพร่ภายใน CWI

1991 Python เวชั่นแรกที่ออกสู่สายตาชาวโลก :

20 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1991 Python 0.9.0 ได้ออกมาสู่สายตาชาวโลกครั้งแรก โดยถูกเผยแพร่บน USENET (สามารถโหลดโค้ด Python 0.9.1 ได้จาก https://www.python.org/download/releases/early/) โดยมาพร้อมกับ classes พร้อมด้วย inheritance, การจัดการกับข้อผิดพลาด (Exception Handling) , ฟังก์ชัน (functions), และชนิดข้อมูลหลัก อย่างเช่น list, dict, str และอื่น ๆ โดยทั้งหมดเป็นระบบโมดูลที่ยืมมาจาก Modula-3 เขาอธิบายว่า "one of Python's major programming units."

1994 Python 1.0 : 

26 มกราคม ค.ศ.1994 Python 1.0 ได้ถูกปล่อยออกมา พร้อมกับเครื่องมือสำหรับ functional programming เช่น lambda,  map, filter และ reduce เป็นต้น
1995 van Rossum ย้ายไปทำงานที่ CNRI :

หลังจากที่ van Rossum ออก Python 1.2 แล้วได้ไปทำงานที่ Corporation for National Research Initiatives (CNRI) และออก Python หลายเวชั่นต่อมาภายใต้ CNRI
2000 ทีมนักพัฒนา Python ย้ายไป BeOpen.com :

ทีมนักพัฒนา Python ย้ายจาก CNRI ไป BeOpen.com เป็นส่วนหนึ่งทีม PythonLabs แต่ทาง CNRI ได้ร้องขอ Python 1.6  ทีมนักพัฒนาจึงปล่อย Python 1.6 และ Python 2.0 โดยมีช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

การพัฒนาของ Python 2.0 เปิดกว้างมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่โปร่งใสมากยิ่งขึ้นและได้มีการย้ายโค้ดไปฝากไว้บน SourceForge ทำให้ผู้คนสามารถรายงานข้อผิดพลาดและส่งการแก้ไขข้อผิดพลาด (patches) ได้ง่ายขึ้น

หลังจากที่ปล่อย Python 2.0 ภายใต้ BeOpen.com แล้วทั้ง Van Rossum และ PythonLabs ได้ย้ายไปทำงานที่ Digital Creations (ปัจจุบันกลายเป็น Zope Corporation) จึงทำให้ Python 2.0  เป็นเวชั่นเดียวที่ออกภายใต้ BeOpen.com

แต่ในขณะเดียวกันทาง FSF (Free Software Foundation) ได้ออกมาแย้งว่าใบอนุญาตของ CNRI อันใหม่ที่เข้ากับ Python 1.6 ทำให้ Python 1.6 เกิดปัญหาเข้ากันไม่ได้กับ GPL และใบอนุญาตของ Python 2.0 ก็มีปัญหาเข้ากันไม่ได้กับ GPL เช่นกัน  จึงทำให้ทาง BeOpen, CNRI และ FSF เกิดการเจรจาต่อรองต่อมาเพื่อที่จะทำให้ Python เป็น Free software license โดยเข้ากันได้กับ GPL

Python 1.6.1 จึงถูกปล่อยออกมาโดยแก้ไขข้อผิดพลาดและใบอนุญาตที่เข้ากันได้กับ GPL แต่ทาง FSF กลับกล่าวว่า Python 1.6.1 เข้ากันไม่ได้กับ GPL [1]

2001 Python Software Foundation ถูกก่อตั้งขึ้นมา : Python Software Foundation หรือ PSF ถูกก่อตั้งขึ้นมาเป็นมูลนิธิเพื่อเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับ Python โดย Zope Corporation ได้เป็นผู้ร่วมสนับสนุน และได้มีการพัฒนา Python 2.1 แต่ก็ติดปัญหาเข้ากันไม่ได้กับ GPL จึงออก Python 2.1.1 [2] ตามมาและออก Python 2.0.1 [3] ตามมา โดยเข้ากันได้กับ GPL ซึ่ง Python ได้ใช้ใบอนุญาต Python Software Foundation มาจนถึงปัจจุบันนี้2006 เริ่มต้นพัฒนา Python 3000
 ค.ศ.2006 ทาง PSF ได้เริ่มต้นพัฒนา Python 3000 โดยเข้ากันไม่ได้กับ Python 2.X เวชั่นที่ผ่านมา เป็นการยกเครื่องครั้งใหญ่ของภาษา Python
2008 Python 3.0 ออกเวชั่นจริงค.ศ.2008 Python 3.0 ออกเวชั่นจริง พร้อมกับ Python 2.6 ในเวลาใกล้เคียงกัน โดย Python 3.0 มาพร้อมความสามารถใหม่และสนับสนุน Unicode
2010 Python 2.7 และ Python 3.1 :
 Python 2.7 ได้ถูกปล่อยออกมา และได้ปล่อย Python 3.1 ตามมา2011 PEP404 - ไม่มี Python 2.8 :
 จาก PEP404 ทำให้ Python 2.7 กลายเป็นเวชั่่นสุดท้ายของสาย Python 2 หลังจากนี้ Python 2.7 จะได้รับการสนับสนุนด้านความปลอดภัยจนถึงปี ค.ศ.2020 [4]
2018 Guido van Rossum ออกจากตำแหน่งผู้นำ Python
12 กรกฎาคม 2018 Guido van Rossum ผู้ก่อตั้งภาษา Python และดำรงตำแหน่งผู้นำภาษา Python มาตั้งแต่ก่อตั้ง ได้ประกาศออกจากตำแหน่งผู้นำ Python หรือ "Benevolent dictator for life" (BDFL) สาเหตุมาจากการออกมาตรฐาน PEP 572 [5]










Technology

Technology 4.0 “ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าหมายถึงอะ...