วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2561

สอบปฏิบัติ

เทคนิคการสอบ

สิ่งที่ฉันอยากเป็น  สัตวแพทย์
มหาลัยที่อยากเข้า 

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (อังกฤษ: Chiang Mai University; อักษรย่อ: มช.) เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ[2] โดยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยที่รัฐบาลจัดตั้งขึ้นในส่วนภูมิภาค ตามโครงการพัฒนาการศึกษาในส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2501 พร้อมทั้งได้มีการเรียกร้องให้ขยายการศึกษาระดับอุดมศึกษาออกสู่ภูมิภาค โดยขอให้รัฐบาลจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2493 นำโดยนายกีและนางกิมฮ้อ นิมมานเหมินท์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม จังหวัดเชียงใหม่[3] ได้รับเลือกให้เป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ จาก กระทรวงศึกษาธิการ ในปี พ.ศ. 2552
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการจัดอันดับเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 3 ในด้านการเรียนการสอนของประเทศไทย และเป็นอันดับ 5 ในด้านการวิจัยของประเทศไทยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยของประเทศไทยใน "โครงการฐานข้อมูลออนไลน์เพื่อประเมินศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทย" เมื่อปี พ.ศ. 2549[4][5]ปัจจุบันมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เปิดการเรียนการสอนใน 21 คณะ 2 วิทยาลัย บัณฑิตวิทยาลัย และมีสถาบันวิจัย 4 สถาบัน[6]โดยเปิดสอนในระดับปริญญาตรีมีหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละคณะจำนวน 340 หลักสูตร โดยมีการจำแนกหลักสูตรออกเป็น หลักสูตรภาคปกติ หลักสูตรภาคพิเศษ หลักสูตรนานาชาติ หลักสูตรต่อเนื่อง และหลักสูตรสาขาวิชาร่วม หลักสูตรระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 2 แผน คือ แผน ก และแผน ข และหลักสูตรระดับปริญญาเอก แบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบ 1 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ และแบบ 2 เป็นการศึกษาที่เน้นการวิจัย โดยมีการทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง และก่อให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาการ และวิชาชีพ และศึกษากระบวนวิชาเพิ่มเติม[7][8]นับตั้งแต่การก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 ถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้มีอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 15 คน โดยอธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์คลีนิค นายแพทย์ นิเวศน์ นันทจิต

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์ลำดับที่ 5 ของประเทศไทย จัดเป็นคณะในกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อันประกอบไปด้วย คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ คณะเทคนิกการแพทย์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้รับการก่อตั้งเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งถือเป็นวันก่อตั้งคณะอย่างเป็นทางการ โดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตสัตวแพทย์สนองตอบความต้องการในเขตภาคเหนือและภูมิภาคคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีที่ตั้งอยู่บริเวณวิทยาเขตดอยคำ ตำบลแม่เหียะ ห่างจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประมาณ 5 กิโลเมตรโดยประมาณ โดยอาคารเรียนและสิ่งปลูกสร้างได้ดำเนินการแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2541 และได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จฯ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ เจ้าฟ้ากัลยานิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เป็นองค์ประธานเปิดอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นทางการ
การจัดการเรียนการสอนเป็นแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยหน่วยงาน 8 สาขาวิชา (เทียบเท่าภาควิชา) และสถานบริการสุขภาพสัตว์ รองรับการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและงานบริการทางวิชาการ นอกจานั้น ยังได้จัดตั้งสถานสัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิกเพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวิจัยทางด้านสัตวแพทย์สาธารณสุขของภูมิภาค
คณะได้เริ่มรับนักศึกษารุ่นแรกในปี พ.ศ. 2539 เทียบได้กับสัตวแพทย์รุ่นที่ 60 ในประเทศไทย (ในระบบการนับรุ่นจะอนุโลมนับรุ่นในระบบเดียวกันในทุกคณะสัตวแพทยศาสตร์ ของประเทศไทย) และเพิ่งจัดงานครบรอง 12 ปีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 23-25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549[1]


เทคนิคการสอบ มีดังนี้

1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต MP3 มีสติอยู่กับหนังสือ 
2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที 
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ 
4. เช็คคำตอบ 
5. อ่านอีกหนึ่งรอบ 
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน 
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น 
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ 
9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ 
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น

5 เคล็ดลับการอ่านหนังสือสอบ

1. คนที่อ่านหนังสือคนเดียวมักจะเสียเปรียบ คนที่อ่านเป็นกลุ่มมักจะได้เปรียบ เนื่องจากอ่านคนเดียวอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน หรืออ่านไม่ตรงจุด หรือ(บางคน)อาจอ่านไม่รู้เรื่อง ถ้าอ่านเป็นกลุ่มโอกาสอ่านผิดจุดจะยากขึ้น และยังพอช่วยกันฉุดได้

2. ควรอ่านเองที่บ้านก่อน 1 รอบ และจับกลุ่มติว เสร็จแล้วกลับไปอ่านทบทวนเองที่บ้านอีก 1 รอบ (ต้องรับผิดชอบตัวเอง)

3. ผลัดกันติว ใครเข้าใจเรื่องใดมากที่สุดก็ให้เป็นผู้ติว ข้อสำคัญ อย่าคิดแต่จะเป็นผู้รับอย่างเดียว จงคิดว่าเป็นผู้ให้ก่อน แล้วคนอื่น (ถ้าไม่แล้งน้ำใจเกินไป) ก็จะให้ตอบเอง

4. ผู้ติวจะได้ทบทวนเนื้อหา และจะรู้ว่าตัวเองขาดอะไร บกพร่องอะไร จากคำถามของเพื่อนที่สงสัย บางครั้งเพื่อนก็สามารถเสริมเติมเต็มในบางจุดที่ผู้ติวขาดหายได้

5. การติวจะทำให้เกิดการ Share ความคิด และฝึกวิธีทำงานร่วมกับผู้อื่น ช่วยพัฒนาทั้งด้าน IQ และ EQ (อ่านเองจะพัฒนาแต่ IQ)

เคล็ดลับวิธีทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนได้อย่างแม่นยำ

เคล็ดลับการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียนนี้ เป็นเทคนิคง่าย ๆ นักเรียนนักศึกษาสามารถนำไปปฏิบัติได้ทุกคน ขอแต่เพียงเข้าใจเคล็ดลับวิธีการเท่านั้นเอง หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ
1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อย ๆ คือเราจะ หยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว

2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ ! แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเองฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้วให้อ่านต่อไปได้

3. หากตอนใดเราอ่านแล้วแต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่องแสดงว่ายังไม่เข้าใจให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง

4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้วยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป

5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่บุคคลหรือสูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น 

6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำโดยปราศจากความเข้าใจเรียนไปก็ลืมไปสูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์  

7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ไม่ชัดเจน 

8. ดังนั้นจึงขอสรุปเทคนิคง่าย ๆ สั้น ๆ ดังต่อไปนี้ :-
          ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง
          ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริง ๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ

                             วิดีโอแนะนำการสอบของพี่ Kan Atthakorn




คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ

คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้  
1. พูดภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย คือ ภาษาอังกฤษ
2. มีความรู้ทั่วไป  และเป็นผู้ที่ขวนขวายหาความรู้สม่ำเสมอ
3. รักการเดินทางท่องเที่ยว และงานบริการ  ปรับตัวได้  และเป็นนักแก้ไขปัญหาได้ดีในทุกสถานการณ์ 
4. มีความยืดหยุ่น  ประนีประนอม  และมีลักษณะอบอุ่นโอบอ้อมอารีเป็นที่ไว้วางใจของผู้เดินทางร่วมไปด้วย
5. มีความเป็นผู้นำ  มีความกล้า  มีความรอบคอบและไม่ประมาท
6. ทัศนะคติดี  ร่าเริง  มีความเสียสละซื่อสัตย์  ซื่อตรง  และอดทน
7. สุขภาพร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบและปฏิภาณดี
8. มีความคิดสร้างสรรค์   มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
9. เป็นนักสื่อสารที่ดี รักการอธิบาย และการบรรยายความรู้ต่าง ๆ 
10. เป็นนักจัดเก็บข้อมูลที่ดีทั้งข้อมูลการท่องเที่ยว ความนิยมของลูกค้า และรายชื่อลูกค้าที่เป็นนักท่องเที่ยว
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้ :
มัคคุเทศก์ท้องถิ่น
          เป็นผู้ที่มีวุฒิการศึกษาตั้งแต่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า  และได้รับการอบรมเพิ่มเติม  เพื่อรับวุฒิบัตรพัฒนาฝีมือแรงงาน (วพร.)  เป็นเวลา 320 ชั่วโมง หรือ 40 วัน 
มัคคุเทศก์ภายในประเทศ  และมัคคุเทศก์นำเที่ยวชาวต่างประเทศ
          เป็นผู้มีพื้นฐานการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไปต้องเข้ารับการ อบรม  และมีใบอนุญาตเป็นมัคคุเทศก์จากสถาบันที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้การ รับรอง หรือ มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะ หรือสาขาวิชาธุรกิจ การท่องเที่ยว
โอกาสในการมีงานทำ
          ตั้งแต่ปี  2539  เป็นต้นมา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย ทำเงินรายได้ให้ประเทศมากที่สุดและในปี2543 จะนำเงินเข้าประเทศได้ประมาณ  3  แสนล้านบาท    โดยได้เปิดตลาดเพื่อส่งเสริมการขายและการท่องเที่ยวของประเทศไทยในต่าง ประเทศของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ส่วนในประเทศได้เน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว  และศักยภาพในทุกด้านของทุกจังหวัดเพื่อส่งเสริม  และรองรับคนไทยให้เที่ยวในประเทศไทยมากขึ้น โดยเน้นทั้ง ประวัติศาสตร์   โบราณสถานวัฒนธรรมประเพณีของทุกจังหวัด และทัวร์สิ่งแวดล้อมหรืออีโคทัวริสซึ่ม   
          แนวโน้มของคนในยุคปัจจุบันเมื่ออยู่ในสังคมใหม่จะแสวงหาวันหยุดที่ใกล้ชิด ธรรมชาติและความเงียบสงบ  นักท่องเที่ยวต่างประเทศปัจจุบันจะเลือกเที่ยวในประเทศที่มีการจัดการและ รักษาสิ่งแวดล้อม  และสภาพทางนิเวศวิทยาที่ดีเท่านั้น อาจจะจัดเป็นทัวร์สุขภาพธรรมชาติบำบัด หรือรูปแบบการอบรมสัมมนาเนื้อหาทางพุทธศาสนา และทำสมาธิ การได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับชาวบ้านเพื่อเรียนรู้ภูมิปัญญา และวัฒนธรรม   ท้องถิ่นของชาวบ้านเป็นต้น   ซึ่งประเทศไทยมีศักยภาพที่จะจัดเป็นเส้นทางสำหรับนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ได้  ดังนั้น บุคคลผู้สนใจประกอบอาชีพนี้สามารถเปิดการให้บริการ  โดยสามารถจัดเป็นธุรกิจการท่องเที่ยวแบบเฉพาะกลุ่มของตนเองขึ้นบนเว็บไซต์ออ นไลน์เสนอให้ผู้สนใจทั่วโลกเลือกพิจารณารูปแบบการท่องเที่ยวได้ 
          อนึ่ง   องค์การท่องเที่ยวโลกได้มีการสนับสนุนกำหนดให้  วันที่   27   กันยายนของทุกปีเป็นวันท่องเที่ยวโลก โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาคมโลกตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวที่มี ต่อวัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศและโลกโดยรวม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยก็ได้สนับสนุนอุตสาหกรรมนี้เพราะเล็งเห็นถึงความ มีศักยภาพในการเป็นประตูไปสู่การท่องเที่ยวอินโดจีน หรือภูมิภาค เข้าสู่จีน พม่า ลาว  เขมร  และเวียดนาม ซึ่งนับว่าอาชีพมัคคุเทศก์เป็นอาชีพสำคัญส่วนหนึ่งในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่จะมีส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้ให้ได้มาตรฐาน แล้วเป็นผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอีกด้วย  เนื่องจากผู้บริโภคหรือนักท่องเที่ยวสนใจที่จะเลือกบริโภคในประเทศที่ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเท่านั้นโอกาสการมีงานทำเป็นมัคคุเทศก์จึงค่อนข้างมีมากและมีโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรอบรู้   ความสามารถ  และจรรยาบรรณในวิชาชีพของมัคคุเทศก์    
          แม้ว่ารัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างไรก็ตาม แต่ถ้าขาดมัคคุเทศก์ที่มีคุณภาพก็ไม่สามารถทำให้นโยบายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผล ได้   จึงได้มีการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพนี้ โดยในปี 2543 การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้จัดให้มีรางวัลพิเศษขึ้น คือ  "มัคคุเทศก์ไทยดีเด่น " ในงานไทยแลนด์ทัวริสซึ่มอวอร์ด   2000  อันถือว่าเป็นงานยอดเยี่ยมของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่กระตุ้นให้ผู้ประกอบ ธุรกิจ และผู้เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการอนุรักษ์  และพัฒนาทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตลอดจนจัดการบริการให้มีมาตรฐาน
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
          ความก้าวหน้าในอาชีพนี้ไม่ได้วัดกันที่ตำแหน่ง  แต่สามารถวัดได้จากความสามารถทางด้านภาษาความอดทน ความเป็นมืออาชีพ   ดังนั้น ผู้ที่สนใจต้องการประกอบอาชีพนี้สามารถติดต่อได้ที่บริษัทจัดท่องเที่ยว  เมื่อมีประสบการณ์และสร้างเครือข่ายข้อมูลทางด้านการท่องเที่ยวได้มากและสร้างพันธมิตรทาง ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องก็สามารถเปิดบริษัทเองได้ถ้าอยู่ในต่างจังหวัดสามารถ เปิดสำนักงานของตนเองได้แต่จะต้องสำรวจพื้นที่ที่ตนอยู่  และจังหวัดใกล้เคียงว่ามีแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวที่น่าสนใจ   และจัดเป็นรูปแบบการเดินทางได้หรือไม่  จากนั้นก็จัดทำโฮมเพจ เสนอบริการขึ้นเว็บไซต์ตรงสู่ผู้สนใจ โดยปรึกษากับบริษัทที่ปรึกษาการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ โดยใช้บ้านเป็นสำนักงาน




Technology

Technology 4.0 “ดิจิทัล 4.0” และ “ดิจิทัลไทยแลนด์” เป็นวลีที่คนไทยเริ่มจะได้ยินบ่อยขึ้นในช่วงหลายปีมานี้ หลายคนอาจจะสงสัยว่าหมายถึงอะ...